วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

ข้อคิดดีๆ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี

หากเป็นคนรู้จักคิด ชั่วชีวิตจะมีครูอยู่ทุกแห่งหน

หลายคนมีคำพูดติดปากเวลาทำความผิดว่า “ปุถุชนก็งี้แหละ” แล้วก็ไม่ยอมปรับปรุงตัวเอง ยังคงทำผิดต่อไป คนที่คิดแบบปัดความรับผิดชอบเช่นนี้ มีแต่จะแย่ลง

คนที่ “เป็นตัวของตัวเอง” อย่างมีปัญญา (ไม่ใช่เป็นตัวของตัวเองด้วยความโง่ อวดดื้อถือดี สำคัญตนผิด) จึงเป็นคนที่มองโลกใบนี้อย่างรื่นรมย์ กายเบา จิตเบา อัตตาเบา อยู่ในโลกอย่างเป็นนาย ไม่ถูกโลกและโลกย์ลากไป

สุขอยู่คู่กับทุกข์ เสมือนเราหยิบแก้วน้ำขึ้นมา เราหยิบตรงปากแก้ว ก้นแก้วก็ต้องติดขึ้นมาด้วย เมื่อใดมีสุขอย่าประมาท ทุกข์รอเสียบอยู่แล้ว

ถ้าครูสามารถสอนหนังสือ สอนคน จนทำให้ศิษย์เกิดแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้ขึ้นในตัวเองได้สำเร็จ นี่แหละคือตัวมาตรวัดว่าครูคนนั้นประสบความสำเร็จสูงสุด ในวิชาชีพครูแล้วอย่างน่าชื่นชม

สาระของการเกิดเป็นคนอย่างมีคุณค่าและคุ้มค่า อยู่ที่เรา “อยู่เพื่ออะไร” ถ้าเราใช้ชีวิตอยู่เพียงเพื่อตนเอง ก็จะเป็นการอยู่เพียง “สิ้นใจ” (ตายแล้วคนก็ลืม) แต่ถ้าอยู่เพื่อคนทั่วไป เราก็จะอยู่ได้ชั่วฟ้าดิน

หากป่วยกายอยู่แล้ว อย่าให้ต้องมาป่วยซ้ำลงไปอีก ถ้าป่วยกาย แต่ใจไม่ป่วย โอกาสหายป่วยย่อมมีมาก แต่ถ้าป่วยกายด้วย ป่วยใจด้วยบางทีโรคกายไม่ร้ายแรง แต่ก็อาจทุกข์ทรมานเพราะโรคใจคอยแทรกซ้อน

ก่อนฝนจะตก เมฆยังตั้งเค้า ก่อนพายุใหญ่จะมา อากาศยังแปรปรวน ก่อนน้ำจะท่วม มดยังย้ายรังหนี ก่อนสิ่งไม่ดีจะเกิดขึ้นในชีวิต หากสังเกตสักนิดเราจะรู้เท่าทันและป้องกันได้อย่างแน่นอน

มีคนเกลียดยังดีกว่าไม่มีคนรู้จัก มีคนวิจารณ์ยังดีกว่าทำอะไรแล้วไม่มีคนเห็น เป็นคนแต่มีความทุกข์ ถึงกระนั้นก็ยังดีกว่าเกิดเป็นเดรัจฉาน

เวลาไม่สบายใจ แล้วชอบตีโพยตีพาย หงุดหงิด จงถามตัวเองว่า ทำไมเราจึงมีทีท่าต่อปัญหาเช่นนั้น ลองเปลี่ยนวิธีการใหม่ หากความไม่สบายใจเกิดขึ้นเมื่อไหร่ จงหลับตาลง แล้วกลับมาสังเกตุดูลมหายใจเข้าออกของตนเองอย่างผ่อนคลาย พอใจสงบ แล้วคุณจะพบว่า เราสามารถรับมือกับปัญหาด้วยท่าทีที่ละมุนละไมมากขึ้น

ประตูแห่งโอกาสเปิดให้เสมอสำหรับหัวใจที่ไม่ยอมแพ้

อย่าเอาแต่เฝ้าชื่นชมความสำเร็จของคนอื่น ตัวเธอเองก็มีศักยภาพที่จะประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน ขออย่างเดียว จงอย่าดูถูกตัวเองเท่านั้น

ที่ใดมีสติปัญญา ณ ที่นั้นถึงมีกิเลสอยู่
กิเลสนั้นก็หมดโอกาสแสดงตัว
ที่ใดก็ตามหากขาดสติปัญญา แม้ไม่น่าจะมีปัญหา
ก็อาจจะมีปัญหาขึ้นมาได้อย่างไม่น่าเชื่อ

เกิดมาเป็นคนกับเขาชาติหนึ่งแล้ว อย่าได้เป็นศัตรูกับใครเขาเลย เพราะไม่เพียงแต่เราจะต้องเจ็บปวดจากการทำร้ายของศัตรูเท่านั้น หากยังจะต้องเจ็บปวดจาก “ความทรงจำอันเลวร้าย” ที่แทรกตัวอยู่ในจิตใต้สำนึกของเราเองอีกด้วย

" เราจงเป็นหยดน้ำใสเพียงคนละหนึ่งหยดที่มารวมตัวกันทำความดี เพราะถ้าเราปล่อยให้น้ำใสหนึ่งหยดอยู่โดดเดี่ยว สักวันเขาจะท้อถอยและระเหยไปเพราะแดดจัด ลมแรง แต่ถ้าเรามารวมกันและไหลไปในทางที่ถูกต้อง เราจะไปรวมกันเป็นมหาสมุทร..มหาสมุทรแห่งความดี"

“เด็กๆ ทุกคนก็คือ เพชรนิลจินดาที่รอการเจียระไน ครู พ่อแม่ ชุมชน คือนายช่างเจียระไน โดยศักยภาพทางสติปัญญาของเด็กไม่ว่าจะประเทศไหน มีศักยภาพไม่ต่างกัน รอเพียงนายช่างจะเป็นผู้เจียระไน”

งานเลี้ยงลูก ถือว่าเป็นการบำเพ็ญบารมีก็ได้ โดยเฉพาะถ้าลูกดื้อมากๆ ก็ให้บำเพ็ญบารมีคือความอดทน ถ้าพูดอะไรแล้วลูกไม่ฟัง ก็เตือนตนเองว่า เราต้องเป็นพ่อแม่มืออาชีพให้หนักกว่านี้อีก

“สิ่งที่เด็กได้พบเจอในวัยเด็ก ถ้าพ่อแม่ครูได้เห็น ก็จะพบยอดคนได้ตั้งแต่เด็ก แต่คนส่วนใหญ่มักไปดึงแววเด็ก ทุกสิ่งที่เด็กแสดงตั้งแต่เด็ก คือ อัจฉริยภาพในอนาคต ซึ่งถ้าไม่เป็นอัจฉริยภาพก็จะเป็นตรงข้าม”

เราสามารถสร้างโลกโดยผ่านการสร้างลูก ถ้าลูกดีโลกก็ดี ลูกเป็นอย่างไรโลกเป็นอย่างนั้น

ความดีต้องสร้างกันทั้งชีวิต แต่อาจพังเพราะความคิดผิดเพียงครั้งเดียว

ความโลภเปรียบเสมือนหญิงงามที่คอยเชื้อเชิญให้เราไปติดกับ ติดบ่วงนายพรานยังแก้ได้ แต่ติดบ่วงความโลภ น้อยคนนักที่จะถอนตัวออกมาทัน

เราควรตรวจสอบงบดุลชีวิตว่าปีที่ผ่านมาเราได้กำไรหรือขาดทุน หากชีวิตมีความดีมาก มีความสุขมาก แสดงว่าปีที่ผ่านมาคุณได้กำไร แต่ถ้าชีวิตเต็มไปด้วยความผิดพลาด เศร้าหมองและทุกข์แสดงว่า งบดุลชีวิตประจำปีที่ผ่านมาของคุณขาดทุน จำไว้ว่าขาดทุนเรื่องไหนให้เริ่มต้นใหม่ในเรื่องนั้น กำไรเรื่องไหน ต้องรักษาสิ่งนั้นไว้ให้ดีที่สุด งบดุลชีวิตจำไว้ง่ายๆ สุขคือกำไร ทุกข์คือขาดทุน

จิตธรรมชาติว่องไวไม่ต่างอะไรจากลิง แต่ลิงที่ว่าไม่นิ่งเมื่อนำมาฝึกจริงๆ ก็ยังเอามาใช้งานได้ ฝึกลิงยังฝึกได้ฉันใด ฝึกจิตฝึกใจก็ฝึกได้ฉันนั้น

"คนส่วนใหญ่สนใจแต่ความมั่นคงทางการเงิน ความมั่นคงทางธุรกิจ ความมั่นคงทางอำนาจ ความมั่นคงทางครอบครัว แต่หารู้ไม่ว่า "ความมั่นคงทางใจ" นั้น สำคัญเสียยิ่งกว่าความมั่นคงทุกอย่างเพราะด้วยใจที่มั่นคง ก็จะทำให้ความมั่นคงด้านอื่นๆ ตามมา"

ความไม่รู้เป็นยอดแห่งมลทิน ปัญญาเป็นยอดแห่งสิริมงคล ความถ่อมตนเป็นยอดแห่งเสน่ห์

ถูกยั่วให้โกรธแต่ไม่โกรธ ถูกยั่วให้เกลียดแต่ไม่เกลียด ถูกยั่วให้หลงแต่ไม่หลง นี่คือวิถีทางของยอดคน

คนที่คิดทางบวกเป็นคนที่โชคดีและได้กำไรเสมอ ส่วนคนที่คิดในทางลบ แม้เรื่องดีๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ก็ยังไม่รู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์กับตน
วิธีคิดบ่งบอกอนาคต กำหนดชะตากรรม เราคิดอย่างไรก็จะกลายเป็นคนอย่างนั้น คิดบวก ชีวิตก็เป็นบวก คิดลบ ชีวิตก็ติดลบ

ในใจเรามีทั้งตัวสร้างและตัวเสื่อม ตัวสร้างคือธรรมะ ตัวเสื่อมคือกิเลส เวลาอยากทำอะไรดี ๆ นั่นคือบทบาทของตัวสร้าง แต่ในขณะที่เราอยากทำดีกลับรู้สึกว่าไม่ควรจะทำ นั่นคือบทบาทของตัวเสื่อม

จงแสวงหาความเป็นเลิศจากงานที่ทำ อย่าแสวงหาการยอมรับจากบางคน เพราะปากคนไม่มีบรรทัดฐานอะไร ปากเดียวกันด่าก็ได้ ชมก็ได้ แต่ความเป็นเลิศจากผลงานที่รังสรรค์ไว้ให้แก่โลก ไม่มีใครสามารถหักล้างได้

อาหารหลัก ๕ หมู่ คือ อาหารของร่างกาย ความรู้ ความจริง ธรรมะ กำลังใจ ความสุข ความสงบ อิสระภาพ คืออาหารของใจ ร่างกายต้องกินอาหารดีๆ ฉันใด จิตใจก็ต้องกินอาหารดีๆ ฉันนั้น

การให้เกียรติแก่คนทุกคน จะส่งผลเป็นปฏิสัมพันธ์เชิงบวกเสมอ

ก่อนนอน... จงแผ่เมตตาให้คนที่เรารัก จงแผ่เมตตาให้คนที่เราชัง จงแผ่เมตตาให้คนที่เราเทิดทูน จงแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ด้วยความปรารถนาดีในราคาเดียวกัน

คนตาบอดยังรู้จักแสวงหาธรรมะ คนตาดีมัวแต่แสวงหาอบายมุข โดยนัยที่กล่าวนี้ คนตาดีจึงไม่วิเศษไปกว่าคนตาบอด

ความโกรธมีรากเป็นพิษแต่มียอดหวาน รากเป็นพิษเกิดจากจิตใจที่ไม่ดี ยอดหวานคือเมื่อได้แสดงความโกรธออกมาแล้ว มีความสุขใจเพียงชั่วคราว

มีตาทั้งสองข้างแต่หากไม่รู้จักมองหาสิ่งดี ๆ คุณก็ไม่มีอะไรดีไปกว่าคนที่ตาบอดมาแต่กำเนิด


คนฉลาดชอบแกล้งโง่ คนโง่ชอบเสแสร้งว่าฉลาด ส่วนนักปราชญ์เรียนรู้ที่จะฉลาดและเรียนรู้ที่จะโง่


สมบัติทุกอย่างที่เรามีวันหนึ่งมันจะหนีจากเราไป ดังนั้นจงอย่ายึดติดถือมั่น จนปล่อยไม่ลง ปลงไม่เป็น


รักคนอื่นคือศิลปะในการรักตนเอง เห็นแก่ตัว คือ อุบายทำร้ายตนเอง


เก่งแกมดีเป็นศักดิ์เป็นศรีกว่าเก่งแกมโกง

การมีชัยชนะไม่ได้หมายถึงการพิชิตคนอื่นได้เสมอไป การถอดถอนความรู้สึกอยากเป็นผู้ชนะนั่นต่างหากคือการมีชัยในความหมายที่แท้จริง

คุณจะศรัทธากูรูคนไหนก็ได้ แต่อย่าศรัทธาหมดใจจนหลงลืมศรัทธาในมันสมองสองมือของตนเอง

คนที่รู้ว่า เมื่อไหร่ ควรสวมหรือถอดหัวโขน คนพวกนี้ไปไหนก็สบาย เพราะไม่ต้องคอยแบก 'อัตตา' ไปด้วย

ประตูแห่งโอกาสเปิดให้เสมอสำหรับหัวใจที่ไม่ยอมแพ้

จงเรียนรู้ที่จะรักตัวเองผ่านการรักผู้อื่น แล้วท่านจะค้นพบความรักที่ไม่เหือดหาย

ทำดีแล้วคนด่า ยังดีกว่าทำบ้าให้คนสรรเสริญ

พ่อคือผู้ที่นำธรรมในการครองแผ่นดิน เพราะครองธรรมก่อนครองราชย์ พ่อจึงสามารถครองใจคนทั้งประเทศ

หากรักพ่อ อย่าถามว่าฉันจะได้อะไร แต่ถามว่าฉันจะให้อะไร เราคนไทยไม่ทำตามคำพ่อสอนแล้วอย่าอ้อนว่ารักพ่อ

พ่อเคยกล่าวว่าสังคมไทยนี้เราอยู่กันมาด้วยการให้ แต่บัดนี้สังคมไทยเราหายนะวุ่นวายเพราะเราให้กันน้อยลง


คมอดีต
ความผิดพลาดคือเรื่องราวคราวอดีต
ปล่อยให้กรีดปัจจุบันจนหวั่นไหว
ผลิตซ้ำความทุกข์มาซุกใจ
คนอะไรช่างขลาดเขลาเบาปัญญา


ตื่น - แต่ - หลับ
หลับอยู่ในความตื่นนับหมื่นล้าน
จึงดวงมานไม่ตื่นรู้อยู่หลังเขา
กินกามเกียรติเบียดบังไม่สร่างเมา
คือเรื่องเศร้ามวลมนุษย์ชำรุดใจ

คนบางคนมมองเราด้วยความเข้าใจผิด
คนบางคนตั้งใจที่จะเข้าใจผิดในทุกกิจที่เราทำ ทุกคำที่เราพูด
คนประเภทที่ 1นั้น ควรหาโอกาสชี้แจงให้เขาเข้าใจ
ส่วนคนประเภทที่ 2 ควรปล่อยเขาไปหรือไม่ก็อยู่ให้ห่างที่สุด

การยอมให้ตนเองอ่อนแอด้วยการร้องไห้อย่างเปิดเผย
มองในอีกมุมหนึ่งก็นับเป็นความเข้มแข็งได้เหมือนกัน

การให้อภัยจะปลดปล่อยตนเองในเบื้องต้น
ปลดปล่อยคู่อริในท่ามกลาง
และปลดปล่อยโซ่ตรวนแห่งเวรกรรมให้อันตรธานไปในที่สุด

ใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับกฎของธรรมชาติ นั่นแหละ คือการปฏิบัติธรรม
ความเกรี้ยวกราดสะท้อนถึงความอ่อนแออย่างรุนแรงที่แฝงอยู่ในตัวคน ความเมตตา ความพร้อมที่จะเข้าอกเข้าใจ ความสงบ และการให้อภัยต่างหากคือความเข้มแข็งของจิตใจ


ถ้าเรามีค่านิยมต่อโลกและชีวิตที่ถูกต้อง ชีวิตที่เหลือก็ถูกทั้งหมดเหมือนเราจับทิศถูก เราก็ไปถึงที่หมายได้ถูกต้อง


อย่ากลัวคนจะมาตำหนิ แต่จงกลัวว่าตัวเองจะทำผิด อย่ากลัวที่จะรับรู้ความบกพร่องของตน แต่จงกลัวว่าตนจะเป็นคนที่ดีได้ไม่จริง


ไส้เดือนอยู่ในดินมองไม่เห็นดิน นกอยู่บนฟ้ามองไม่เห็นฟ้า ปลาอยู่ในน้ำมองไม่เห็นน้ำ คนอยู่ท่ามกลางกิเลสมองไม่เห็นกิเลส

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

คนแรกและสิ่งแรกของประเทศไทย ที่พอจะหาได้ อาจจะมีมากกว่านี้


# กษัตริย์ไทยพระองค์แรก (พ่อขุนศรีอินทราทิตย์)

# นายกรัฐมนตรีคนแรกของไทย (พระยามโนปกรณ์นิติธาดา)

# ประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของไทย (เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี)

# สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหญิงคนแรกของไทย (นางอรพินท์ ไชยกาล)

# อธิบดีหญิงคนแรกของไทย (คุณหญิงอัมพร มีศุข อธิบดีกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ)

# จอมพลคนแรกของเมืองไทย (จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวาษ์วรเดช)

# นักดาราศาสตร์คนแรกของไทย (รัชกาลที่ 4)

# นางสาวไทยคนแรกของประเทศไทย (นางสาวกันยา เทียนสว่าง)

# นางสาวไทยคนแรกที่ชนะการประกวดนางงามจักรวาล (นางสาวอาภัสรา หงสกุล)

# สตรีไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลแมกไซไซ (คุณนิลวรรณ ปิ่นทอง)

# นักมวยไทยคนแรกที่ได้ครองตำแหน่งแชมป์โลก (โผน กิ่งเพชร)

# นักพากย์ภาพยนตร์คนแรกของไทย (นายสิน สีบุญเรือง (ทิดเขียว))

# นักเขียนการ์ตูนคนแรกของไทย (ขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต (เปล่งไตรปิ่น))

# ผู้คิดประดิษฐ์อักษรไทยคนแรก (พ่อขุนรามคำแหง)

# ผู้คิดตัวพิมพ์อักษรไทยเป็นคนแรก (ร้อยโท เจมส์ โลว์)

# ผู้เริ่มใช้กระแสไฟฟ้าเป็นคนแรกของไทย (จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต))

# ผู้เปิดเดินรถเมล์ในกรุงเทพมหานครเป็นคนแรก (พระยาภักดีนรเศรษฐ์ (นายเลิศ))

# ผู้ประดิษฐ์รถสามล้อขึ้นใช้ในประเทศไทยเป็นคนแรก (นายเลื่อน พงษ์โสภณ)

# ผู้ให้กำเนิดลูกเสือไทยคนแรก (รัชกาลที่ 6)

# ผู้เริ่มแท็กซี่ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก (พลโท พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เมื่อปี พ.ศ.2466)

# ผู้ที่ริเริ่มใช้คำว่า "สวัสดี" (พระยาอุปกิตศิลปสาร)

# ผู้ให้กำเนิดเพลงสรรเสริญพระบารมี (กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์)

# ผู้ให้กำเนิดเพลงชาติไทย (พระเจนดุริยางค์ (บรรเลงครั้งแรกโดยวงดุริยางค์ทหารเรือ))

# ผู้แต่งเพลงกราวกีฬา (เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี)

# ผู้ได้รับยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย" (สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ)

# ผู้ได้รับยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย" (สมเด็จพระราชบิดา กรมหลวงสงขลานครินทร์)

# ผู้ได้รับยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งกองทัพเรือ" (กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์(พระราชโอรสในรัชกาลที่ 5))

# ผู้ได้รับยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งการสหกรณ์แห่งประเทศไทย (กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์)

# ฝาแฝดคู่แรกของไทย (ฝาแฝด อิน - จัน เกิดเมื่อ 11 พฤกษภาคม พ.ศ. 2434 ที่ จ. สมุทรสงคราม)

# ผู้ที่ริเริ่มใช้ ร.ศ. (รัตนโกสินทร์ศก) (รัชกาลที่ 5)

# ร.ศ. 1 ตรงกับปี พ.ศ. (พ.ศ. 2331)

# เรือกลไฟลำแรกของประเทศไทย (เรือสยามอรสุมพล)

# โรงพยาบาลแห่งแรกของไทย (โรงพยาบาลศิริราช)

# มหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

# โรงเรียนอนุบาลแห่งแรกของไทย (โรงเรียนอนุบาลที่โรงเลี้ยงเด็ก ซึ่งพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ พระอัครชายาใน[*]# รัชกาลที่ 5เป็นผู้ให้กำเนิด)

# ธนาคารเอกชนแห่งแรกของไทย (แบงก์สยามกัมมาจล (ปัจจุบัน คือธนาคารไทยพาณิชย์))

# โรงภาพยนตร์โรงแรกในกรุงเทพฯ ที่ฉายจอซีนีมาสโคป (โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย)

# ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ออกฉายให้ประชาชนชมครั้งแรกเรื่อง (นางสาวสุวรรณ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2466)

# โรงแรมแห่งแรกของไทย (โรงแรมโอเรียนเต็ล)

# โรงพิมพ์แห่งแรกของประเทศไทย (โรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ ตั้งอยู่ที่ธนบุรี)
[*]# บทประพันธ์ที่ทำการขายลิขสิทธิ์ครั้งแรกในประเทศไทย(นิราศลอนดอนของหม่อมราโชทัยขายให้กับหมอบรัดเลย์)

# แบบเรียนเล่มแรกของคนไทย (หนังสือจินดามณี พระโหราธิบดีเป็นผู้แต่ง)

# หนังสือไทยเล่มแรก (หนังสือไตรภูมิพระร่วง)

# หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทย (หนังสือพิมพ์บางกอกรีคอดเดอร์ เมื่อปี พ.ศ.2387)

# ปฏิทินฉบับภาษาไทยของประเทศไทยจัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ (ปี พ.ศ.2385)

# วิทยุโทรทัศน์มีขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อ (ปี พ.ศ.2497 สมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม)

# สถานีโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย (สถานีโทรทัศน์ ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม ปัจจุบัน คือ ช่อง 9 อสมท.)

# โรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรแห่งแรก (โรงเรียนวัดมหรรณพาราม)

อ่านต่อ : http://www.dek-d.com/board/view.php?id=2030283#ixzz1BMau6Ru7